เทพเล่าปุนเถ้ากง
เปรียบเสมือนเทพผู้เป็นใหญ่ในท้องที่นั้นๆ
เป็นเทพเจ้าประจำท้องถิ่นที่จะคอยดูแลทุกข์สุขของประชาชนที่อยู่ในเขตนั้น
ศาลเจ้าจีนที่อยู่ในตลาดหรือแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวจีน
หากไม่ประดิษฐานเทพปุนเถ้ากงไว้เป็นประธานในศาล
ก็ต้องตั้งเป็นเทพชั้นรอง
ในตลาดสดส่วนใหญ่จะตั้งเทพปุนเถ้ากงเป็นประธาน
เพื่อจะได้ช่วยปกป้องความร่มเย็น และการค้าเจริญรุ่งเรือง
"ปุนเถ้ากง" เป็นภาษาแต้จิ๋ว ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า
"เปิ่นโถวกง" หรือ "เปิ่นโถวกัง" นักวิชาการชาวจีนหลายท่านมีความเห็นว่า เทพปุนเถ้ากง และต้าเป๋อกง (ตั่วแปะกง)
ก็คือเทพองค์เดียวกัน
เป็นเทพที่นักเดินเรือในสมัยราชวงศ์ซ่งกราบไหว้กัน
โดยมีชื่อเดิมว่า "โตวกง" แต่ที่ปีนังชาวพื้นเมืองเรียกเทพองค์นี้ว่า "เปิ่นโถวกง"
ที่ฟิลิปปินส์เรียกเทพองค์นี้ว่า "เปิ่นโถวกัง"
"ปุนเถ้ากง"
นับได้ว่าเป็นเทพที่ชาวจีนแต้จิ๋วและจีนฮกเกี้ยน
นับถือมากที่สุด รองลงมาก็คือเจ้าแม่กวนอิม,
เจ้าแม่เทียนโหว, (หมาโจ้วหรือเจ้าแม่ไข่มุก)
เจ้าพ่อกวนอู, เทพแห่งทิศเหนือ
(เหียงเทียนเสียงตี่่-แต้จิ๋ว) หรือ
ชาวไทยเรียกว่าเจ้าพ่อเสือ และเจ้าแม่จุยโบวเนี้ยว (ไหหลำ)
หรือเจ้าแม่ทับทิม |